วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา


3. หลักการและเหตุผล
            วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม
1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 )  1 วันเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญจวัคคีย์ ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้  และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ ( โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน ) ควงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่าสิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาแล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธพระธรรม  พระสงฆ์ ในวันนี้ของทุกๆปีเวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และพุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ  และพุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่าวันพระสงฆ์ก็มี อาสาฬหะคือ เดือน 8  อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน 8

            วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่
ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (พรรษา แปลว่า
ฤดูฝน , จำ แปลว่า อยู่ ) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
หรือวันออกพรรษา

ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำ
พรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ
ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆแม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธ
เจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุสงฆ์ประจำอยู่ที่วัด
            กองบริการการศึกษาตระหนักในความสำคัญของกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอดด้วยเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมอันดีงามจะช่วยปลูกฝังรากฐานอันดีงามของจิตใจ ช่วยเสริมคุณค่าให้เจ้าหน้าที่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป

4.วัตถุประสงค์
            1.เพื่อรณรงค์ให้บุคลากรของกองบริการการศึกษา ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา และตระหนักถึงความสำคัญในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
            2.เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังรากฐานอันดีงามรวมถึงจิตใจของบุคลากรกองบริการการศึกษา โดยการตั้งจิตและร่วมใจกันนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
            3.เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้บุคลากรกองบริการการศึกษา ร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
4. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทยและสืบทอดพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
5.ระยะเวลาจัดทำโครงการ
            วันที่  3 8  กรกฎาคม  2552
6.สถานที่ดำเนินโครงการ
            กองบริการการศึกษา
7.วิธีดำเนินการ
            1.จัดทำบอร์ดวิชาการเผยแพร่ความรู้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา


            2.ประชาสัมพันธ์การจัดการกิจกรรมเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาให้บุคลากรของกอง และเชิญชวนบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้าร่วมกิจกรรมในเว็บไซต์ของกองบริการการศึกษา
8.ผู้เข้าร่วมโครงการ
            บุคลากรกองบริการการศึกษา จำนวน 25 คน
9.ผู้รับผิดชอบโครงการ
            คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กองบริการ
การศึกษา
10.งบประมาณ
            จำนวน  2000  บาท
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            บุคลากรของกองบริการการศึกษา ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา การตระหนักถึงความสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยร่วมกันเผยแพร่และทำกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ควรปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา