วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการฝึกอบรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน


๑.หลักการและเหตุผล
ด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เปิดโอกาสให้ ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม การจัดทำบริการสาธารณะ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ”  และการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศโดยยึดสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่สำคัญของภาครัฐ ในการกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จนถึงในระดับชาติ รวมทั้ง มาตรา ๖๑/๑ แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้อำเภอมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตอำเภอ ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม หมู่บ้านซึ่งเป็นองค์กรบริหารในระดับรากหญ้า มีความใกล้ชิดกับประชาชน
ตามพระราชบัญญัติ เทศบาล พ..249และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน  เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.๒๕๕๑ นอกจากจะกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการบริหารงาน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับราษฎรในหมู่บ้านแล้ว ยังได้กำหนดให้มี คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำหน้าที่ช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน เกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ หรือที่นายอำเภอมอบหมาย หรือที่ผู้ใหญ่บ้านร้องขอ และให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นองค์กรหลัก ที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน
คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจของทุกภาคส่วนในระดับหมู่บ้าน ดังนั้นในการอบรมในครั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้านให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมาย และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับภารกิจทุกภาคส่วนที่จะมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และเพื่อสร้างความตระหนักให้คณะกรรมการหมู่บ้านเห็นประโยชน์และความสำคัญของตนเอง พร้อมเสียสละทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
๒.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้านให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมาย และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับภารกิจทุกภาคส่วนที่จะมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
๒. เพื่อสร้างความตระหนักให้คณะกรรมการหมู่บ้านเห็นประโยชน์และความสำคัญของตนเอง พร้อมเสียสละทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน

๓. เป้าหมาย
คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน  ในตำบล...... ทุกคน จำนวน  ๑๙๓  คน

๔.วิธีดำเนินการ
               ๔.๑  ประชุมผู้เกี่ยวข้องจัดทำโครงการฝึกอบรม ฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ รายงานผู้บังคับบัญชา  เพื่อขออนุมัติโครงการ
               ๔.๒ จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์คณะวิทยากร  จากหน่วยงานราชการในอำเภอบางระกำ
       ๔.๔ เชิญคณะกรรมการหมู่บ้านมาอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมาย และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการ

๕.ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
กำหนดการฝึกอบรม  วันที่  ๒๙  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕    ณ สำนักงานเทศบาลตำบล....
เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐น. จำนวน  ๑๐๑ คน
เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐น. จำนวน ๙๒ คน
๖.งบประมาณดำเนินการ
เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕  โครงการอบรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้กับคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน ตั้งไว้ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้กับคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน เพื่อจ่ายเป็นค่า วัสดุสำนักงาน และค่าวัสดุอื่นๆ ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าจ้างเหมารถ ค่าตอบแทนวิทยากรค่าจัดสถานที่ ค่าดอกไม้และอื่นๆที่จำเป็นในการจัดทำโครงการเพื่อให้ความรู้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน ตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนทั่วไป ปรากฏในแผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน(๐๐๒๕๐) งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน (๐๐๒๕๒)


เพื่อจ่ายเป็น
๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะวิทยากรและคณะทำงาน จำนวน ๒๐๐ คน จำนวน ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท                                 เป็นเงิน           ๕,๐๐๐  บาท              ๒.ค่าวิทยากร     จำนวน ๖ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท             เป็นเงิน           ๓,๖๐๐ บาท
๓.ค่าป้ายโครงการ                                               เป็นเงิน           ๖๐๐ บาท
๔.ค่าวัสดุที่เกี่ยวข้องกับโครงการ                                 เป็นเงิน           ๘๐๐ บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น          ๑๐,๐๐๐  บาท
. ผู้รับผิดชอบโครงการ
            งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน สำนักปลัดเทศบาล, สภาเด็กและเยาวชนตำบล....,สภาองค์กรชุมชนตำบล...,สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอ.... , อำเภอ.....,ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบล....
๘. ผลที่คาดว่าที่ได้รับ
          ๑. คณะกรรมการหมู่บ้านให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมาย และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับภารกิจทุกภาคส่วนที่จะมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
๒. คณะกรรมการหมู่บ้านเห็นประโยชน์และความสำคัญของตนเอง พร้อมเสียสละทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน

            (ลงชื่อ)............................................................ผู้เขียนโครงการ