วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน


หลักการและเหตุผล
                 กลุ่มชนชาวไทดำ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ดังกล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองไลว่า เมืองที่พวกผู้ไทดำอยู่นั้น คือเมืองแถงหนึ่ง เมืองควายหนึ่ง เมืองตุงหนึ่ง เมืองม่วยหนึ่ง เมืองลาหนึ่ง เมืองโมะหนึ่ง เมืองหวัดหนึ่ง เมืองซางหนึ่ง รวมเป็น ๘ เมือง เมืองผู้ไทขาว ๔ เมือง ผู้ไทดำ ๘ เมืองเป็น ๑๒ เมือง จึงเรียกว่าเมืองสิบสองผู้ไท แต่บัดนี้เรียก สิบสองจุไทชาวไทยทรงดำไทย มีวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การแต่งกาย ทรงผม ภาษา บ้านเรือน อาหาร และการประกอบ อาชีพ รวมไปถึงความเชื่อที่สืบ ทอดกันมานาน ก่อให้เกิดพิธีกรรมและประเพณีที่น่าสนใจมากมายแม้ในกระแสวัฒนธรรมจากภายนอกที่หลั่งไหลเข้าทดแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวไทยทรงดำ วัฒนธรรมหลายอย่างหาได้สูญสลายไปตามกระแสไม่ แต่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าประทับใจ เช่น ภาษา การแต่งกาย งานประเพณีและการดำรงชีวิตที่สมถะเรียบง่ายแบบดั้งเดิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำพึงพอใจและดำรง รักษา ไว้อย่างภาคภูมิ เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๙๐ มีราษฎรจากจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๑  ตำบล....โดยบุคคลที่มามีเชื้อสายไทยดำทั้งหมด 

เทศบาลตำบล...เป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นรวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสถาบันศาสนา อีกทั้งเป็นนโยบายของผู้บริหารเทศบาลข้อ ๘. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว  จะจัดให้มีศูนย์วัฒนธรรมไททรงดำ กองการศึกษา จึงร่วมกับ สภาวัฒนธรรมตำบล...., สภาองค์กรชุมชนตำบล....,สภาเด็กและเยาวชนตำบล....,ส่วนราชการในตำบล....,สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ....,และชมรมไทดำภาคเหนือ  จึงจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น งานสืบสานของดีประเพณีไทยดำ 

วัตถุประสงค์
.เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามให้อยู่คู่กับประชาชนในตำบล....ตลอดไป
.เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น งานสืบสานของดีประเพณีไทยดำ 
๓.เพื่อเป็นการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทดำและพิพิธภัณฑ์ไทดำ

เป้าหมาย
            คณะผู้บริหาร  สมาชิกสภาเทศบาลตำบล....พนักงาน  พนักงานจ้างเทศบาลตำบล....     ส่วนราชการในตำบล....โรงเรียน  สถานีอนามัย ตำรวจ อส.ตร  อปพร. กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ประชาชนในเขตเทศบาลตำบล.... สภาวัฒนธรรมตำบล....และสภาองค์กรชุมชนตำบล....คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนทั้ง ๔ โรงเรียน และประชาชนในตำบล.... ประมาณ ๑,๐๐๐ คน

สถานที่และระยะเวลาดำเนินการ

วิธีการดำเนินงาน
๑.ประชุมร่วมกับคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล กำนันผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดเทศบาลและพนักงานเทศบาลและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงาน
๒.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๓.ออกคำสั่งมอบหมายหน้าที่
๔.ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆร่วมงาน
๕.ดำเนินการจัดงานตามโครงการ
๖.สรุปและประเมินผลการจัดงาน

กิจกรรมที่ดำเนินการได้แก่
๑.นิทรรศการประวัติความเป็นมา  วัฒนธรรมประเพณีไทดำ
๒.ร้านจำหน่ายสินค้าที่เป็นเครื่องแต่งกายไทดำ
๓.การแสดงรำแคนไทดำ
๔.การรับประทานอาหารร่วมกัน

งบประมาณ
                    งบประมาณจากเทศบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน  ตั้งไว้ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท  เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีไทยทรงดำ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ค่าจัดนิทรรศการ ค่ามหรสพ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนทั่วไป ปรากฏในแผนงานการศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ(๐๐๒๖๐) งานศาสนา วัฒนธรรมท้องถิ่น(๐๐๒๖๓) 
เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
๑.ค่าเหมาจัดทำและตกแต่งเวทีและเครื่องเสียงและตกแต่งไฟฟ้า                  เป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐.- บาท
๒.ค่าเหมาเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า                                                   เป็นเงิน  ๕,๕๐๐.- บาท
๓.ค่าเหมาจัดทำอาหารและเครื่องดื่ม                                               เป็นเงิน  ๒๐,๐๐๐.-  บาท
๔.ค่าเหมามหรสพ(วงดนตรี)                                                         เป็นเงิน    ๙,๐๐๐.-  บาท
๕. ค่าป้ายโครงการ ขนาด ๒x๑.๒๐ เมตร                                          เป็นเงิน    ๕๐๐.-  บาท

*หมายเหตุ* ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้





ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามให้อยู่คู่กับประชาชนในตำบล....ตลอดไป
๒. เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น งานสืบสานของดีประเพณีไทยดำ 
. เป็นการอนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายและสืบสานให้คงอยู่สืบไป
๔. สามารถดำเนินการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทดำและพิพิธภัณฑ์ไทดำได้

ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองการศึกษา เทศบาลตำบล....,สภาเด็กและเยาวชนตำบล....,สภาวัฒนธรรมตำบล....,    สภาองค์กรชุมชนตำบล....หน่วยบริการประชาชนทั้ง ๒ แห่ง, สถานีอนามัยทั้ง ๒ แห่ง, โรงเรียนในตำบล.... ๔ แห่งและประชาชนตำบล....,ชมรมไทดำตำบล....


       ลงชื่อ…………………………….ผู้ผู้เขียนโครงการ