วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการอนุรักษ์ประเพณีเอาแรงในการทำงาน (ลงแขกดำนา) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕


๑.  หลักการและเหตุผล
ลงแขก เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกันของสังคมคนอีสานในอดีต ที่นับวันจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด คนไทยในสมัยนี้รู้จักคำว่า ลงแขก ในความหมายที่เป็นการกระทำผิดอาญา แต่สำหรับคนอีสานแล้ว ลงแขก มีความหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็
เนื่องจากชีวิตของคนอีสานเกี่ยวพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น การทำนา การทำไร่ ทำสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของฟ้าและฝน จะต้องเร่งรีบในการเพาะปลูก ปักดำ เก็บเกี่ยว ในครอบครัวใดมีแรงงานมากก็จะทำได้เร็วและทันเวลา แต่ครอบครัวที่มีคนน้อยก็จะทำสำเร็จได้ยาก ณ จุดนี่เองที่ก่อให้เกิดประเพณี ลงแขก เพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้างตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงอาหารข้าวปลาตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง ทำให้กิจการงานสำเร็จลุล่วงมีอาหารเพียงพอไม่ขาดแคลน

เมื่อเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาสู่ชุมชนพร้อมกับการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อขาย ยุคเศรษฐกิจเงินตราเป็นใหญ่จึงทำให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอดีต กลายมาเป็นการว่าจ้างแรงงานแทน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอย่าง การลงแขก จึงพลอยสูญหายไปด้วย และยิ่งมาถึงยุคสมัยที่ลูกหลานวัยรุ่น หนุ่ม-สาวของเราหนีความแห้งแล้งไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ การทำไร่ไถนาของบรรพบุรุษก็ยิ่งขาดแคลนแรงงานหนัก ก็ได้อาศัยเงินทองที่ลูกหลานส่งมาให้มาจ้างแรงงานในหมู่บ้านใกล้เคียงมาช่วยเหลือ ก็ยิ่งทำให้การลงแขกถูกลืมเลือนเด็ดขาดไปเลย เพราะการช่วยงานต้องมีค่าจ้างตอบแทน เลี้ยงข้าวปลาอาหารอีก นี่จึงต้องมีการฟื้นฟูและกล่าวถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การลงแขก ให้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้เทศบาลตำบล....จึงได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์ประเพณีเอาแรงในการทำงาน (ลงแขกดำนา) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ ขึ้น

๒. วัตถุประสงค์
          ๒.๑  เพื่ออนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมของอาชีพเกษตร
          ๒.๒  เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โดยเฉพาะเยาวชนได้ซึมซับในวีถีชีวิตเกษตรกร
          ๒.๓  เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาใช้วิธีการลงแขกเพื่อทำการเกษตร
          ๒.๔  เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน

๓. เป้าหมาย
          ดำเนินการ ณ พื้นที่ของเทศบาลตำบล....โดยมีเนื้อที่  ๒๐ ไร่ ตั้งอยู่ หมู่ที่  ๑๙  บ้าน... ตำบล.... อำเภอ.....จังหวัด.....
         
๔. วิธีดำเนินการ
          ๔.๑  คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ               
          ๔.๒  ประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ
          ๔.๓  จัดทำโครงการอนุรักษ์ประเพณีการเอาแรงในการทำงาน(ลงแขกดำนา)
          ๔.๔  ดำเนินการตามโครงการฯ
           
๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ
          สำนักปลัด เทศบาลตำบล..... ตำบล......
๖. วันเวลาและสถานที่
          วันที่  ๘ เดือน  สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๕๕

๗. งบประมาณ
          ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  โดยใช้วิธีการดังนี้
          การเตรียมพื้นที่ทำนา
-          โดยใช้รถไถของสมาชิกสภาเทศบาลฯ และของผู้นำชุมชน คิดเป็นมูลค่า ๕,๐๐๐ บาท
พันธุ์ข้าว(ต้นกล้า)
-  ขอรับการสนับสนุนจากประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนที่เหลือจากการทำนา คิดเป็นมูลค่า ๔,๐๐๐  บาท
แรงงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
-          คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลตำบล....  จำนวน  ๑๗  คน
-          พนักงานเทศบาล และพนักงานจ้าง  จำนวน  ๓๖  คน
-          ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำสตรี  จำนวน  ๓๐  คน
-          คณะครู  นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑  ......  จำนวน  ๓๐  คน

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ๘.๑  กิจกรรมการเอาแรงในการทำนาได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้
          ๘.๒  เยาวชนสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
          ๘.๓  เสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
          ๘.๔  สามารถขยายผลกิจกรรมไปสู่หมู่บ้าน และชุมชนอื่นได้
          ๘.๕  เป็นจิตสำนึกในการฟื้นฟูประเพณีไทยไว้สืบต่อไป