วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อโครงการ            โครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   ( ประจำปีงบประมาณ  ....  )
หลักการและเหตุผล
                เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด  นานกว่า  30  ปี  เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐบาล ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง   โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์    ความพอเพียง    หมายถึง   ความพอประมาณ
 ความมีเหตุมีผลรวมถึงความจำเป็นที่จะ   ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ  อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ ภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัย  ความรอบรู้  รอบคอบ  และความระมัดระวัง  อย่างยิ่งในการนำวัตถุต่าง ๆ  มาใช้ในการวางแผน  และการดำเนินงานทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฎี    และนักธุรกิจในทุกระดับให้สำนึกใน   คุณธรรม   ความซื่อสัตย์  ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญาและความรอบคอบ  เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   และกว้างขวางทั้ง  ด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ดังกล่าวซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการสหกรณ์  จึงเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  จะได้ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้กับสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง  ๆ  ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทันและนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข 
                ดังนั้น  กรมส่งเสริมสหกรณ์   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดยนิคมสหกรณ์....  ได้จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  ให้แก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ภายในเขตนิคมสหกรณ์โคกขาม  โดยมุ่งหวังว่าสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจะได้รับความรู้  ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง  และนำ ไปประยุกต์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้  ซึ่งจะดำเนินการเผยแพร่  อบรม  และส่งเสริมการทำกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ภายในเขตนิคมสหกรณ์โคกขาม  และจะได้ขยายผลเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปต่อไป
วัตถุประสงค์
                1.  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                                                                                                                                                                             
2.  เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล  โดยการสร้างอาชีพสร้างรายได้  จากการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ลดรายจ่าย  สร้างรายได้  ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ
                3.  เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ได้มีงานทำ  และนำความรู้จากการอบรมภาควิชาการและการศึกษาดูงานเพื่อนำไปขยายผลประกอบกิจกรรมในพื้นที่ทำกินของตนเองอย่างยั่งยืน  สังคมอยู่เย็นเป็นสุข  อีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกให้เป็นไปตามทิศทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่  10 ที่มุ่งสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
เป้าหมาย
                เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลในครอบครัว จำนวน  30  ราย
วิธีดำเนินการ
                1.  รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ
                2.  ชี้แจงและประกาศหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                3.  คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน  ในพื้นที่เป้าหมาย  เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในการดำเนินกิจกรรม
                4.  อบรมสมาชิกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
                5.  คัดเลือกสมาชิกที่ผ่านการอบรม  สมัครใจ  มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด  เข้ารับการฝึกอบรม แบบเข้มข้น  และฝึกปฏิบัติในเขตที่ดินของตนเอง  โดยมีวิทยากรและเจ้าหน้าที่แนะนำ  ติดตามอย่างใกล้ชิด
                6.  นิคมสหกรณ์โคกขาม  ขอความร่วมมือเพื่อบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                7.  สนับสนุนปัจจัย  100%  ของผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ภายในเขตนิคมสหกรณ์โคกขาม  ทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในเบื้องต้น  ในพื้นที่ของตนเอง
                8.  สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายชมรมกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อประสานงานกับกลุ่มองค์กรอื่นเป็นการเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน  ซึ่งเป็นการพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
                9.  นิคมสหกรณ์  ขอความร่วมมือเพื่อบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีพศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในพื้นที่  เพื่อร่วมกัน  ถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน  (  ปราชญ์ชาวบ้าน  )  สำหรับกิจกรรมการเกษตรในแปลงเรียนรู้  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
                10.  นิคมสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สนับสนุนให้กลุ่มอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสามารถดำรงชีพได้อย่างเข้มแข็ง  ยั่งยืน  มีคุณธรรม  ตามหลักการพึ่งพาตนเองและแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ภายใต้กฎหมายจัดที่ดิน  กฎหมายสหกรณ์  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
                11.  นิคมสหกรณ์โคกขาม  จัดทำฐานข้อมูลทั้งด้านองค์ความรู้  ปราชญ์ชาวบ้าน  และกิจกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลการเรียนรู้                      
ระยะเวลาโครงการฯ
                ตั้งแต่เดือน  ธันวาคม  2551  ถึงเดือนกันยายน   2552

งบประมาณ
1. งบดำเนินการ
     เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม โครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   จำนวน  86,300.- บาท (แปดหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน)   ประกอบด้วย                                            -  ค่าอาหารของผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่โครงการ 
   จำนวน  36  คนๆ  ละ  95  บาท/มื้อ  รวม  3  มื้อ                                                                    10,260  บาท
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่โครงการ
   จำนวน 36  คนๆละ 30 บาท/มื้อรวม6มื้อ                                                                     6,480  บาท                                                     -  ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ  600  บาท   รวม  18   ชั่วโมง                         10,800  บาท                                                    -  ค่าจ้างเหมารถยนต์พาคณะผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษาดูงาน  1   วัน    14,000  บาท                                                   -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมภาควิชาการและปฏิบัติภาคสนาม
   ในที่ดินของผู้เข้ารับการฝึกอบรม  จำนวน  30  คน                                                  44,730  บาท
                                                                                                                             รวมเป็นเงิน       86,300   บาท
    หมายเหตุ  ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามรายการข้างต้นสามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ  โดยดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฯ

2.  เงินอุดหนุน
     เพื่อเป็นเงินอุดหนุนในการปรับปรุงพื้นที่ในการจัดทำแปลงเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน  30  รายๆละ  3,000  บาท                             รวมเป็นเงิน             90,000  บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น  176,300.-  บาท  (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                บุคคลในครอบครัว  ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีอาชีพที่มั่นคงมีงานทำในท้องถิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดี  เป็นการลดปัญหาด้านครอบครัวและด้านสังคม
การวิเคราะห์ผลประโยชน์ของโครงการเบื้องต้น
1.  ผลตอบแทนการลงทุน
                -  สมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลในครอบครัวได้มีงานทำ  และนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลประกอบอาชีพในพื้นที่ทำกินของตนเองอย่างยั่งยืน  รายได้และผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ  ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ
2.  ผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
                -  สมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลในครอบครัวมีอาชีพที่มั่นคงมีงานทำในท้องถิ่น  ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว                มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาด้านสังคม
                -  สามารถสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน                 3.  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
                -  สมาชิก ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  ได้รับการอบรมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครบ  30  ราย
4.  ตัวชี้วัดคุณภาพ 
                -  สมาชิก ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้  100 %
5.  ความพร้อมของโครงการ
                สมาชิก จำนวน  30  ราย  มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการฯ  โดยให้มีการสำรวจความต้องการเข้าร่วมโครงการฯไว้แล้ว 
6.  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
                ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
7.  การบริหารจัดการและติดตามประเมินผล
                7.1  มีการมอบหมายงานที่รับผิดชอบแก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                7.2  มารติดตามประเมินผลความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้
                                                                                              
  *******************
ตารางการฝึกอบรม
หลักสูตร    การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 
(  ตามโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรสมาชิกตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง                                               
.........................................................................
27  มกราคม  2552
เวลา        08.00  -  08.30  น.            -  ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
08.30  -  09.00  น.            -  พิธีเปิดการฝึกอบรม 
09.00  -  10.30  น.            -  การบรรยายเรื่อง  หลักการ  อุดมการณ์  และวิธีการสหกรณ์
10.30  -  12.00  น.            -  การบรรยายเรื่องการออมทรัพย์ 
12.00  -  13.00  น.            -  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00  -  14.30  น.            -  การบรรยายเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน
14.30  -  16.00  น.            -  การบรรยายเรื่อง  ความรู้ด้านการประมง เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำ
                28  มกราคม  2552
                เวลา        09.00  -  10.30  น.            -  การบรรยายเรื่อง  ความรู้ด้านการเกษตร
                                10.30  -  12.00  น.            -  การบรรยายเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                                12.00  -  13.00  น.            -  พักรับประทานอาหารกลางวัน
                                13.00  -  16.00  น.            -  การบรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง  การบำรุงดิน  การจัดทำปุ๋ยหมัก
                                                                                    และปุ๋ยน้ำชีวภาพ
                29  มกราคม  2552                              
                เวลา        06.00 -   06.30  น.            -  ขึ้นรถพร้อมเพรียงกัน  หน้าลานพระบิดา  (  ตรงปากครองห้า  )
                                09.00  -  12.00  น.            -   ศึกษาดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์พัฒนาการเขาหินซ้อน
                                                                                     จังหวัดฉะเชิงเทรา
                                12.00  -  13.00  น.            -  พักรับประทานอาหารกลางวัน
                                13.00  -  16.00  น.            -  ศึกษาดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  (  ต่อ  )
                                                                                -  สรุปการฝึกอบรม
                                                                                -  พิธีปิดการฝึกอบรมและเดินทางกลับ
                 
หมายเหตุ  พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มทุกวัน เวลา 10.30 - 10.40น.  และเวลา  14.30  -  14.40  น.