หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยครั้งที่
3 พ.ศ. 2547 ของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการตรวจร่างกาย พบว่า
มีภาวะความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 35.89
หรือคิดเป็นจำนวน 17.64 ล้านคน
กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงรู้ตัวว่าเป็นเพียงร้อยละ 44.69
มีเบาหวานสูงถึงร้อยละ 10.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.32 ล้านคน กลุ่มที่เป็นเบาหวานรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงร้อยละ
54.33
มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 50.89 สูบบุหรี่ร้อยละ 37.71 ดื่มแอลกอฮอล์ในรอบปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 42.32 ซึ่งพบว่าสูงกว่าการสำรวจในครั้งที่
2 ทั้งสิ้น (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข :
2549) รวมทั้งสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยยังคงเป็นการเสียชีวิตด้วยโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) และมีอัตราการป่วยและพิการสูง
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทราบว่าประชาชนไทยที่มีแนวโน้มของการเกิดโรค
และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ
ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ
ไม่ทราบว่า ตัวเองมีความดันโลหิตสูง หรือ แม้จะทราบแต่ละเลยไม่สนใจรักษา เพราะรู้สึกปกติ
สบายดี ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น การเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ไตวายเรื้อรัง การควบคุมระดับความดันโลหิตสูง นอกจากจะต้องดูสุขภาพตนเองด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ลดการบริโภคเกลือ ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ลดการบริโภคแอลกอฮอล์แล้ว ประชาชนยังต้องป้องกันตนเองด้วยการตรวจสุขภาพเป็นด้วยการวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรค
และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศ
ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจวัดความดันโลหิตทั่วไทย เพื่อให้ประชาชน มีความตื่นตัว
เห็นความสำคัญเกิดความตระหนักและมีการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้โดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินการรณรงค์ตรวจสุขภาพด้วยการวัดความดันโลหิต จากเครือข่ายสุขภาพทุกระดับ โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม.
ที่มีอยู่กว่าแปดแสนคนทั่วประเทศที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นกลไกสำคัญและเป็นทุนทางสังคมของการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
สุขภาพของประเทศ
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อส่งเสริมและสร้างกระแสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้
ตื่นตัว
ตระหนัก และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
2.
เพื่อรวมพลังอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศในการดำเนินการรณรงค์
ตรวจวัดความดันโลหิตของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้จำนวนมากที่สุดภายในสัปดาห์รณรงค์
กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชน
อายุ 35 ปีขึ้นไป
ประเด็นการรณรงค์
การตรวจวัดความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
ทั่วประเทศ เพื่อการ
ค้นหาความเสี่ยงของความดันโลหิต เบาหวาน
หัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน และ อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมุ่งหวังให้ประชาชนไทยปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง ภายใต้ คำขวัญ “ตรวจวัดความดัน ป้องกันภัยเงียบ”
กิจกรรมหลัก
1.
สร้างกระแสการรับรู้ ตื่นตัว
ของประชาชนในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการ
วัดความดันโลหิต
1.1
ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนและสื่อต่าง
ๆ
-หนังสือพิมพ์
(ไทยรัฐ ,คมชัดลึก, มติชนสุดสัปดาห์)
-สารคดีเชิงข่าวทางโทรทัศน์
20 ตอน
-สารคดีเชิงละคร/สปอตวิทยุ
/4 ภาค
-โปสเตอร์
1.2 จัดกิจกรรมเยี่ยมเยือนสื่อมวลชน
1.3 เสื้อประชาสัมพันธ์โครงการ
2.
ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพทุกระดับในการดำเนินการ
รณรงค์ฯ
2.1
จัดประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน/เครือข่ายสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
2.2
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่อง
ความดันโลหิต
2.3
จัดทำและเผยแพร่แนวทางการรณรงค์ด้านสุขภาพ
2.4
จัดทำต้นแบบ VCD เรื่องความดันโลหิต
2.5
แผ่นพับ เรื่อง ความดันโลหิต
2.6
แผ่นป้ายไวนิล
2.7
จัดพิมพ์และเผยแพร่บัตรสุขภาพประจำตัว
2.8
สำเนาและเผยแพร่ต้นแบบสื่อ
- แผ่นพับ โปสเตอร์
-
VCD เรื่องความดันโลหิต
-
บัตรสุขภาพประจำตัวและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง
3. จัดสัปดาห์รณรงค์ตรวจวัดความดันโลหิตทั่วประเทศ
วันที่ 2 – 8 กันยายน
2550
3.1
จัดพิธีเปิดงานมหกรรม “ ตรวจวัดความดัน ป้องกันภัยเงียบ”
ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร และ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
พร้อมกัน
วันที่ 2 กันยายน 2550
3.2 จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพทั่วประเทศ
- จัดแสดงนิทรรศการ (ความดันโลหิต ,
การตรวจสุขภาพประจำปี ,
อัมพฤกษ์
, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด , เบาหวาน, โรคอ้วน)
- จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิตโดย
อาสาสมัครสาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพทั่วประเทศ
-
ให้คำปรึกษาและตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ
3.3
จัดกิจกรรมด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
เช่น
การตรวจดัชนีมวลกาย(BMI)
การวัดรอบเอว
การคัดกรองเบาหวาน
กิจกรรมการออกกำลังกายร่วมกัน ฯลฯ
การประเมินผล
1.
ประเมินความครอบคลุมของจำนวนประชากรที่ได้รับการตรวจวัดความดัน
โลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
2.
ประเมินความพึงพอใจ ความรู้
และความตระหนัก ของประชาชนในการ
ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อและการเข้าร่วมในกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิต
ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนกรกฎาคม
- กันยายน 2550
ผู้รับผิดชอบ
- กองสุขศึกษา
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
งบประมาณ
งบประมาณจาก
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีอายุ 35ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพ