วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงการถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน


หลักการและเหตุผล
การถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน     เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาแต่โบราณ  ในอดีตนั้น ความเจริญทางเทคโนโลยีนั้นยังไม่มีให้เห็นเหมือนดังเช่นปัจจุบัน  การดำเนินชีวิตต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสว่างก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์  การหุงหาอาหารก็อาศัยเศษไม้ใบหญ้ามาเป็นเชื้อเพลิงประกอบการปรุงอาหารรับประทาน  ในยามค่ำคืนก็ก่อหรือสุ่มไฟให้เกิดแสงสว่าง   เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย   เพื่อใช้ควันไล่แมลงต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความอบอุ่นแก่คนและสัตว์ และนอกจากนี้ก็เพื่อที่จะได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวก

                        ไฟหรือเชื้อเพลิงเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมชีวิต  ในอดีตยามค่ำคืนที่พระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์หรือท่องตำรับตำรา  ก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ  ตะเกียง และเทียนไข  ซึ่งสิ่งดังกล่าว ค่อนข้างที่จะหาค่อนยากและลำบาก   ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไร่เรี่ยขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธามาหล่อเป็นเทียนและนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาที่วัดนั้น ๆ และก็มีความเชื่อว่าการถวายเทียนพรรษาเป็นการให้แสงสว่าง   ซึ่งจะมีอานิสงค์ให้แก่ผู้ถวายมีภูมิปัญญาที่เฉลียวฉลาด คิดสิ่งใดมีความแตกฉาน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้น ๆ  ได้อย่างน่าอัศจรรย์อันเนื่องมาจากได้ให้แสงสว่างแก่พระสงฆ์    และน่าจะมีความสอดคล้องกับที่ว่า  แสงเทียนส่องทาง  แสงธรรมส่องปัญญา
สำหรับผ้าอาบน้ำฝนนั้น  แต่เดิมได้มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์มีผ้าได้เพียง ๓ ผืน  คือไตร จีวร ได้แก่สบง (ผ้านุ่ง)  จีวร (ผ้าห่ม) และสังฆาฎิ (ผ้าห่มซ้อนนอกใช้ในเวลาอากาศหนาว)  ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุก ๆ ปี  จะเป็นฤดูฝน   ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ไม่ได้รับความสะดวกในการ อาบน้ำ  เพราะมีผ้าเพียงผืนเดียว   ดังนั้น นางวิสาขาจึงกราบทูลต่อพระพุทธเจ้าเพื่อขอพร ๘ ประการ  เพื่อขอถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่พระภิกษุ   และพร ๘ ประการนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย  ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นเหตุอันควร  จึงทรงอนุญาตตามที่ขอพร  ด้วยเหตุนี้การถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันเข้าพรรษาจึงปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศเคารพนับถือ  ซึ่งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติให้มีความสุขและคลายความทุกข์ได้อย่างมีเหตุและผล  ตลอดจนสามารถพิสูจน์เชิงเหตุและผลได้อย่างแท้จริง   คณะกรรมการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ได้พิจารณาเห็นว่า การถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน  เป็นประเพณีอันดีงามและเป็นหนทางหนึ่งที่จะน้อมนำจิตใจของบุคคลเข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ในยุคของโลกาภิวัฒน์โลกทางวัตถุมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง  วัตถุสามารถจับต้องได้  สัมผัสได้  และมองเห็นเป็นรูปธรรม   ด้วยมนุษย์คนเรามีความอยากเป็นพื้นฐานเพื่อให้ชีวิตนี้ดำรงชีพอยู่ได้ จึงเกิดการแกร่งแย่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในองค์กรระดับเล็ก ๆ จนถึงองค์กรระดับประเทศและระดับโลก  จึงเกิดเบียนบัง  ฉ้อฉล เอาทรัพยากรของส่วนรวมมาสนองตัณหาความอยากของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง  นั่นคือ การบริโภคนิยม”  สภาพการณ์ที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็คือเรื่องของราคาน้ำมัน  ราคาของสินค้าอุปโภค-บริโภค    มีราคาแพงขึ้นอยู่วันสร้างความเดือดร้อนกันทั่วไป  มีการชิงไหวชิงพริบเพื่อ ให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุด บางครั้งพูด เอาดีเข้าตัว  เอาชั่วให้ผู้อื่น”  จนลืมนึกถึงหลักของคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นกรอปกติกาอันหนึ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งถูก วัตถุนิยม อำนาจนิยม วาสนานิยมเบียดบังความคิดความรู้สึกที่ดีของบุคคลทั่วไป   และส่งผลให้องค์กรเกิดความวุ่นวายและในทางจิตใจก็เกิดความขุ่นมัวและเศร้าหมองอย่างไม่รู้จบสิ้น ในวาระโอกาสถวายเทียนพรรษา  ประจำปี  2552 นี้ ......................จึงจัดให้มีการถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน  ให้กับวัดในเขตตำบล.............

วัตถุประสงค์
1.  เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของชาวพุทธให้มีความมั่นคงสืบต่อไป
2.  เพื่อให้บุคลากรมีความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ
3.  เพื่อสนับสนุน  และบำรุงพระพุทธศาสนา
วิธีดำเนินการ
1.   ประชุมคณะทำงาน
2.      จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด........
3.  ประสานเจ้าอาวาสวัดในพื้นที่
4.  จัดซื้อ เทียนพรรษา  และผ้าอาบน้ำฝนเพื่อถวายพระสงฆ์  ในวันเข้าพรรษา

สถานที่
                        วัดในเขตเทศบาลตำบล........
ระยะเวลาในการดำเนินการ
วันเข้าพรรษา  ปี  พ.ศ.25......
งบประมาณดำเนินการ
                   งบประมาณจาก...............
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของชาวพุทธให้มีความมั่นคง
2.      ประชาชนเกิดความสมัครสามัคคีกัน

ผู้เสนอโครงการ