๑. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการรายงานผลสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๕๓ พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ ๔๘ ของโลก
แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ ๕ ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับ ๔ ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า
๓ หมื่นล้านบาท
เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตเป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ในการเพาะปลูก
ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับภาระ ส่งผลต่อการลงทุนต่อไร่สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น
และต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น
ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นต้ว
ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ดังนั้น
จึงเห็นว่าเกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวมที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบ/นิเวศการเกษตร
และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ
เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้
โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร
จังหวัดอุดรธานีจึงได้มีนโยบายส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์
โดยมีเป้าหมายที่จะประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ในปี ๒๕๕๔
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ รวมทั้ง เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกันและส่งออก
ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจทำการเกษตรอินทรีย์
เทศบาลตำบลโคกสูง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการฝึกและการประกอบอาชีพ
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.๒๕๔๒ พร้อมทั้งหนังสืออำเภอหนองหาน ที่
อด ๐๐๓๗.๒๕/๙๖๖ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้ประสานสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เชิญชวน ประชาชน เกษตรกรในพื้นที่ เข้าร่วมชมงานดังกล่าว เทศบาลตำบล.....จึงได้จัดทำโครงการเกษตรปลอภัย
ก้าวไกลสู่เกษตรอินทรีย์ ขึ้น
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ผลิต
และผู้บริโภคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
๒.๒ เพื่อให้ประชาชน/เกษตรกร
ได้รับความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
๒.๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน/เกษตรกร
หันมาสนใจทำการเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
๓. เป้าหมาย
เกษตรกร
กลุ่มพลังมวลชน นักเรียนนักศึกษา ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโคกสูง จำนวน ๓๒๐ คน
๔. วิธีดำเนินการ
๔.๑
จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เกษตรอินทรีย์ทางสื่อต่างๆ ในพื้นที่
๔.๒ นำเกษตรกร ประชาชน นักเรียน นักศึกษา
เข้าร่วมงานเกษตรปลอดภัย ก้าวไกลสู่เกษตรอินทรีย์ ณ ตลาดเมืองทองเจริญศรี
อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
๕. ระยะเวลา
ระหว่างวันที่
๑ – ๗ เมษายน ๒๕๕๔
๖. ผู้รับผิดชอบโครงการ
เทศบาลตำบล.................
๗. งบประมาณ
งบประมาณจากเทศบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔
ของเทศบาลตำบล...... จำนวน
๗๓,๐๐๐ บาท (เอกสารผนวก)
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ ประชาชน/เกษตรกร
ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์
๘.๒ ประชาชน/เกษตรกร
สนใจทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
๙. การพิจารณาอนุมัติ
(ลงฃื่อ)...................................................เสนอโครงการ
(ลงฃื่อ).........................................ผู้ตรวจโครงการ