วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน


หลักการและเหตุผล
การถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน     เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาแต่โบราณ  ในอดีต
นั้น ความเจริญทางเทคโนโลยีนั้นยังไม่มีให้เห็นเหมือนดังเช่นปัจจุบัน  การดำเนินชีวิตต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสว่างก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์  การหุงหาอาหารก็อาศัยเศษไม้ใบหญ้ามาเป็นเชื้อเพลิงประกอบการปรุงอาหารรับประทาน  ในยามค่ำคืนก็ก่อหรือสุ่มไฟให้เกิดแสงสว่าง   เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย   เพื่อใช้ควันไล่แมลงต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความอบอุ่นแก่คนและสัตว์ และนอกจากนี้ก็เพื่อที่จะได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวก
                        ไฟหรือเชื้อเพลิงเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมชีวิต  ในอดีตยามค่ำคืนที่พระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์หรือท่องตำรับตำรา  ก็ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ  ตะเกียง และเทียนไข  ซึ่งสิ่งดังกล่าว ค่อนข้างที่จะหาค่อนยากและลำบาก   ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไร่เรี่ยขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธามาหล่อเป็นเทียนและนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาที่วัดนั้น ๆ และก็มีความเชื่อว่าการถวายเทียนพรรษาเป็นการให้แสงสว่าง   ซึ่งจะมีอานิสงค์ให้แก่ผู้ถวายมีภูมิปัญญาที่เฉลียวฉลาด คิดสิ่งใดมีความแตกฉาน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้น ๆ  ได้อย่างน่าอัศจรรย์อันเนื่องมาจากได้ให้แสงสว่างแก่พระสงฆ์    และน่าจะมีความสอดคล้องกับที่ว่า  แสงเทียนส่องทาง  แสงธรรมส่องปัญญา
สำหรับผ้าอาบน้ำฝนนั้น  แต่เดิมได้มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์มีผ้าได้เพียง ๓ ผืน  คือไตร
จีวร ได้แก่สบง (ผ้านุ่ง)  จีวร (ผ้าห่ม) และสังฆาฎิ (ผ้าห่มซ้อนนอกใช้ในเวลาอากาศหนาว)  ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุก ๆ ปี  จะเป็นฤดูฝน   ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ไม่ได้รับความสะดวกในการ อาบน้ำ  เพราะมีผ้าเพียงผืนเดียว   ดังนั้น นางวิสาขาจึงกราบทูลต่อพระพุทธเจ้าเพื่อขอพร ๘ ประการ  เพื่อขอถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่พระภิกษุ   และพร ๘ ประการนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย  ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นเหตุอันควร  จึงทรงอนุญาตตามที่ขอพร  ด้วยเหตุนี้การถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันเข้าพรรษาจึงปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศเคารพนับถือ  ซึ่งหลักธรรมคำสอนของ
พระพุทธศาสนา  สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติให้มีความสุขและคลายความทุกข์ได้อย่างมีเหตุและผล  ตลอดจนสามารถพิสูจน์เชิงเหตุและผลได้อย่างแท้จริง   คณะกรรมการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ได้พิจารณาเห็นว่า การถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน  เป็นประเพณีอันดีงามและเป็นหนทางหนึ่งที่จะน้อมนำจิตใจของบุคคลเข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ในยุคของโลกาภิวัฒน์โลกทางวัตถุมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง  วัตถุสามารถจับ
ต้องได้  สัมผัสได้  และมองเห็นเป็นรูปธรรม   ด้วยมนุษย์คนเรามีความอยากเป็นพื้นฐานเพื่อให้ชีวิตนี้ดำรงชีพอยู่ได้ จึงเกิดการแกร่งแย่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งในองค์กรระดับเล็ก ๆ จนถึงองค์กรระดับประเทศและระดับโลก  จึงเกิดเบียนบัง  ฉ้อฉล เอาทรัพยากรของส่วนรวมมาสนองตัณหาความอยากของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง  นั่นคือ การบริโภคนิยม  สภาพการณ์ที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็คือเรื่องของราคาน้ำมัน  ราคาของสินค้าอุปโภค-บริโภค    มีราคาแพงขึ้นอยู่วันสร้างความเดือดร้อนกันทั่วไป  มีการชิงไหวชิงพริบเพื่อ ให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุด บางครั้งพูด เอาดีเข้าตัว  เอาชั่วให้ผู้อื่น  จนลืมนึกถึงหลักของคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นกรอปกติกาอันหนึ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งถูก วัตถุนิยม อำนาจนิยม วาสนานิยมเบียดบังความคิดความรู้สึกที่ดีของบุคคลทั่วไป   และส่งผลให้องค์กรเกิดความวุ่นวายและในทางจิตใจก็เกิดความขุ่นมัวและเศร้าหมองอย่างไม่รู้จบสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีทางพุทธศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา ปี พ.ศ.2555


หลักการและเหตุผล       
ในวันที่ 3 เดือนสิงหาคม  พ.ศ.2555    เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่  ณ  ที่ใดที่หนึ่ง  ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา  3  เดือน  ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้  โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น  หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า  จำพรรษา  ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า อยู่)  พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง  ละเว้นไม่ได้  ไม่ว่ากรณีใดๆ  ก็ตาม  เริ่มนับตั้งแต่วันแรม  1  ค่ำ  เดือน  8  ของทุกปี  (หรือเดือน  8 หลัง  ถ้ามีเดือน  8  สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  11  หรือวันออกพรรษา
เมื่อวันเข้าพรรษาเวียนมาถึงในปีหนึ่ง ๆ  หน้าที่ของพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา  ก็นิยมทำบุญตักบาตร  ไปวัด  ฟังธรรมเทศนาด้วยถือว่าถึงวันประดิษฐานพระพุทธศาสนา  ดังนั้น  ชาวบ้านทุกหมู่บ้านจึงต้องร่วมกันทำบุญตักบาตร   ถวายภัตตาหาร  ปัจจัยต่าง ๆ    ตามหลักพุทธศาสนา      ราษฎรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเม็กจึงร่วมใจกันจัดทำโครงการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีทางพุทธศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา  ปี  พ.ศ.2555  เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง  ๆ  ต่อไป

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการอนุรักษ์ประเพณีเอาแรงในการทำงาน (ลงแขกดำนา) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕


๑.  หลักการและเหตุผล
ลงแขก เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกันของสังคมคนอีสานในอดีต ที่นับวันจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด คนไทยในสมัยนี้รู้จักคำว่า ลงแขก ในความหมายที่เป็นการกระทำผิดอาญา แต่สำหรับคนอีสานแล้ว ลงแขก มีความหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็
เนื่องจากชีวิตของคนอีสานเกี่ยวพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น การทำนา การทำไร่ ทำสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของฟ้าและฝน จะต้องเร่งรีบในการเพาะปลูก ปักดำ เก็บเกี่ยว ในครอบครัวใดมีแรงงานมากก็จะทำได้เร็วและทันเวลา แต่ครอบครัวที่มีคนน้อยก็จะทำสำเร็จได้ยาก ณ จุดนี่เองที่ก่อให้เกิดประเพณี ลงแขก เพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้างตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงอาหารข้าวปลาตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง ทำให้กิจการงานสำเร็จลุล่วงมีอาหารเพียงพอไม่ขาดแคลน

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ปีงบประมาณ 2555


หลักการและเหตุผล
                  เนื่องจากปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อได้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  เศรษฐกิจและสังคม  ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ  ค่าครองชีพสูงขึ้น    ประชาชนมีรายได้น้อยบางส่วนถูกเลิกจ้าง   ทำให้เกิดความวิตกกังวล   และสุขนิสัยในการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนไปทำให้สถิติการเกิดโรคไม่ติดต่อมีเพิ่ม    โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีสถิติอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก     และยังทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนบางคนร่างกายพิการหรือบางรายถึงกับเสียชีวิต  จึงถือได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน

โครงการฝึกอบรม คุณธรรม จริยธรรม ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปี


หลักการและเหตุผล
            ในปัจจุบันการบริหารงานบุคคล  หน่วยงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารท้องถิ่น  พนักงานของรัฐ  เพราะการยึดมั่นถือมั่นในการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเที่ยงตรง จะทำให้ผู้บริหารปราศจากปัญหาความเลื่อมล้ำต่ำสูงของบุคคลหลายประเภท ความเที่ยงธรรมจะนำมาซึ่งความศรัทธาต่อหมู่เหล่าปัญญาชน ชนชั้นอาชีพในท้องถิ่นการมีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงามจะทำให้ผู้บริหาร พนักงานของรัฐไม่ประพฤติผิดต่อศีลธรรม จรรยาบรรณ  รู้จักแยกผิดชอบชั่วดี การทุจริต ประพฤติมิชอบ คอรัปชั่น จะหมดไปเพราะความเกรงกลัวต่อบาปในสภาวะปัจจุบันนี้ปัญหาสังคมได้ทำลายต่อระบบการบริหารจัดการ หน่วยงาน  โดยเฉพาะปัญหาสิ่งเสพติดเป็นปัญหาบ่อนทำลายคน  ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพหากผู้บริหาร พนักงาน  ไม่หลีกเลี่ยงต่อภัยอันตรายนี้จะทำให้ขาดการยังคิดในการบริหารงาน อาจจะทำให้การบริหารงบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเม็กในปีนี้มีการเลือกตั้งคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาอบรมจิตใจให้ผ่องใส   ลด  ละเลย  ละเว้น   ต่อสิ่งต่าง ๆ  ที่ผิดกฎหมาย จะได้มีกำลังใจในการพัฒนาท้องถิ่นให้ใสสะอาดขจัดสิ้นซึ่งสิ่งเสพติดทั้งปวง

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน


หลักการและเหตุผล
                 กลุ่มชนชาวไทดำ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ดังกล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองไลว่า เมืองที่พวกผู้ไทดำอยู่นั้น คือเมืองแถงหนึ่ง เมืองควายหนึ่ง เมืองตุงหนึ่ง เมืองม่วยหนึ่ง เมืองลาหนึ่ง เมืองโมะหนึ่ง เมืองหวัดหนึ่ง เมืองซางหนึ่ง รวมเป็น ๘ เมือง เมืองผู้ไทขาว ๔ เมือง ผู้ไทดำ ๘ เมืองเป็น ๑๒ เมือง จึงเรียกว่าเมืองสิบสองผู้ไท แต่บัดนี้เรียก สิบสองจุไทชาวไทยทรงดำไทย มีวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การแต่งกาย ทรงผม ภาษา บ้านเรือน อาหาร และการประกอบ อาชีพ รวมไปถึงความเชื่อที่สืบ ทอดกันมานาน ก่อให้เกิดพิธีกรรมและประเพณีที่น่าสนใจมากมายแม้ในกระแสวัฒนธรรมจากภายนอกที่หลั่งไหลเข้าทดแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวไทยทรงดำ วัฒนธรรมหลายอย่างหาได้สูญสลายไปตามกระแสไม่ แต่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าประทับใจ เช่น ภาษา การแต่งกาย งานประเพณีและการดำรงชีวิตที่สมถะเรียบง่ายแบบดั้งเดิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำพึงพอใจและดำรง รักษา ไว้อย่างภาคภูมิ เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๙๐ มีราษฎรจากจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๑  ตำบล....โดยบุคคลที่มามีเชื้อสายไทยดำทั้งหมด 

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการฝึกอบรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน


๑.หลักการและเหตุผล
ด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เปิดโอกาสให้ ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม การจัดทำบริการสาธารณะ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ”  และการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศโดยยึดสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา


3. หลักการและเหตุผล
            วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม
1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 )  1 วันเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญจวัคคีย์ ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้  และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ ( โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน ) ควงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่าสิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาแล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธพระธรรม  พระสงฆ์ ในวันนี้ของทุกๆปีเวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และพุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ  และพุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่าวันพระสงฆ์ก็มี อาสาฬหะคือ เดือน 8  อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน 8

โครงการ “เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ"(วันแม่แห่งชาติ)


หลักการและเหตุผล
            เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา  77  พรรษา  ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ  วันพุธที่  12  สิงหาคม  2552  คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ  ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล  ณ  พระลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า)
            เพื่อให้การจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ  และจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ครบ  77  พรรษา  ในวันพุธที่  12  สิงหาคม  2552  เป็นต้นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ  กระทรวงมหาดไทย  จึงได้เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ  โดยเฉพาะกลุ่มสตรีและเครือข่ายแม่บ้าน เดินทางไปร่วมพิธีฯ ดังกล่าว  ณ  พระลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า)  โดยกรมการพัฒนาชุมชน  กรมการปกครอง  และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประสานการดำเนินงานกับทุกจังหวัด ทั้งนี้  เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และปลูกฝังความสามัคคีของคนในชาติ  รัฐบาลได้กำหนดวันที่  12  สิงหาคม  2552  เป็นวันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  77  พรรษา  12  สิงหาคม  2552  ณ  พระลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า)  ถนนราชดำเนิน  กรุงเทพมหานครฯ  โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ  200,000  คน  ทั้งนี้  จังหวัดอุดรธานี  กำหนดเชิญชวนกลุ่มสตรี และเครือข่ายแม่บ้าน เดินทางไปร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ  ดังกล่าว  จำนวน  5,000  คน

โครงการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๕๕


๑.            หลักการและเหตุผลตามที่กระทรวงสาธารณสุข  ได้แจ้งขอความช่วยเหลือในการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก  โดยมีสถานการณ์การเกิดโรคของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม  ๕๔  จนถึงปัจจุบัน  พบว่ามีรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้น  และจากสถานการณ์โรคไขเลือดออก  จังหวัด......พบว่า  ในภาพรวมจังหวัด.....มีแนวโน้มการเกิดไข้เลือดออกสูงขึ้น  เทศบาลตำบล.....  ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล..... โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมมะค่า    เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบล.....และพื้นที่ข้างเคียง  เทศบาลตำบล.....จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อขออนุมัติใช้งบประมาณดำเนินการ